วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

หนังสือ ๑๐๐ กิจกรรมจิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด


         หนังสือ ๑๐๐ กิจกรรมจิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดนี้  จัดทำขึ้นหลังจากเสร็จสิ้นโครงการเตรียมความพร้อมก่อนเรียน โดยใช้กระบวนการจิตศึกษา ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูที่ดีของคณะครูโรงเรียนสาธิตฯ และนักศึกษาที่เรียนในรายวิชาทักษะและเทคนิคการสอน ภาคเรียนที่ ๒/๒๕๕๖ โดยใช้กิจกรรมจิตศึกษา  


จากการสัมภาษณ์ครูและผู้บริหารโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดพบว่า กระบวนการจิตศึกษาช่วยพัฒนาอารมณ์นักเรียน และช่วยให้นักเรียนมีสมาธิพร้อมที่จะเรียนรู้  และทำให้นักเรียนเรียนรู้ได้ดี สำหรับอาจารย์ผู้สอนพบว่ากระบวนการจิตศึกษาสามารถพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูของนักศึกษาได้เป็นอย่างดี

หลังจากเสร็จสิ้นโครงการฯ จึงได้รวบรวมกิจกรรมจิตศึกษาที่นักศึกษาได้พัฒนาขึ้นเป็นหนังสือ  เพื่อเผยแพร่   ซึ่งผู้จัดทำหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อครูและสถานศึกษาที่จะนำกิจกรรมจิตศึกษาไปใช้    ดาวน์โหลดหนังสือฉบับสมบูรณ์ได้ที่นี่ (ฟรี)

จิตศึกษากับการบ่มเพาะความเป็นครู



กระบวนการ จิตศึกษาเป็นแนวคิดและกระบวนการพัฒนาทั้งครูและนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้และงอกงามด้านความฉลาดทางด้านอารมณ์ ความฉลาดด้านจิต  หลังจากการดำเนินกระบวนการจิตศึกษา พบว่า นักเรียนทุกคนสงบได้ง่ายขึ้น จิตใจที่สงบก็จะนำมาซึ่งการรับฟังกันได้ลึกซึ้ง เกิดการใคร่ครวญ สามารถรับรู้และเชื่อมโยงกับคนอื่นๆ หรือสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น  ปัจจุบันพบว่าเมื่อครูใช้กระบวนการจิตศึกษาเพื่อขัดเกลานักเรียน ในขณะเดียวกันนั้นครูก็ได้ขัดเกลาความฉลาดด้านในของตนเองไปด้วย "จิตศึกษา" จึงกลายเป็นส่วนสำคัญของโรงเรียนในการพัฒนาครู เพื่อยกระดับจิตวิญญาณครูให้มี "หัวใจของความเป็นครูอย่างแท้จริง"  (วิเชียร  ไชยบัง : วุฒิภาวะของความเป็นครู , ๒๕๕๖)

จากการสัมภาษณ์ครูและผู้บริหารโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดหลังจากเสร็จสิ้นโครงการเตรียมความพร้อมก่อนเรียน โดยใช้กระบวนการจิตศึกษา ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด พบว่า กระบวนการจิตศึกษาช่วยพัฒนาอารมณ์นักเรียน และช่วยให้นักเรียนมีสมาธิพร้อมที่จะเรียนรู้  และทำให้นักเรียนเรียนรู้ได้ดี สำหรับอาจารย์ผู้สอนพบว่ากระบวนการจิตศึกษาสามารถพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูของนักศึกษาได้เป็นอย่างดี

จิตศึกษากับการเตรียมความพร้อมก่อนเรียน



การที่นักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีนั้น ขึ้นอยู่กับมีความพร้อมที่จะเรียนรู้   โดยเฉพาะความพร้อมทางด้านอารมณ์  นับว่าเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ที่ดีของนักเรียน  ในการดำรงชีวิตประจำวันนักเรียนแต่ละคนต้องเผชิญกับกิจกรรมหลายอย่างกว่าที่จะเดินทางมาถึงโรงเรียน จึงทำให้นักเรียนหลายคนไม่พร้อมที่จะเรียนรู้  ซึ่งกิจกรรมจิตศึกษาทะช่วยปรับอารมณ์ ปรับคลื่นสมองของผู้เรียนให้พร้อมก่อนที่จะเรียนรู้ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดได้ ในรายวิชาทักษะเทคนิคการสอน ได้นำกิจกรรมจิตศึกษามาให้นักศึกษาได้เรียนรู้และวางแผนออกแบบกิจกรรมจิตศึกษา และไปทดลองปฏิบัติกิจกรรมจิตศึกษากับนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ในช่วงเวลา ๐๘.๓๐-๐๘.๕๐ น. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเรียนให้แก่นักเรียน ซึ่งในขณะจัดกิจกรรมนักศึกษาจะใช้เพลงบันเลงคลื่นสมองต่ำประกอบกิจกรรมด้วย ผสมผสานกับท่าทีครูที่เป็นกัลยาณมิตร และกิจกรรมที่น้อมนำไปสู่การเกิดสติ เกิดสมาธิ ผ่อนคลายมีความสุข และพร้อมที่จะเรียนรู้    หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมที่นักศึกษาจัดกิจกรรมจิตศึกษาที่โรงเรียนสาธิต จากการสัมภาษณ์ครูและผู้บริหารพบว่ากระบวนการจิตศึกษาช่วยพัฒนาอารมณ์นักเรียน และช่วยให้นักเรียนมีสมาธิพร้อมที่จะเรียนรู้  และทำให้นักเรียนเรียนรู้ได้ดี

กระบวนทัศน์จิตศึกษา

     กระบวนทัศน์จิตศึกษาประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ คือ การใช้จิตวิทยาด้านบวก  สร้างชุมชนและวิถีชุมชน และ การจัดกระทำผ่านกิจกรรมจิตศึกษา ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีรายละเอียด ดังนี้

. การใช้จิตวิทยาเชิงบวก 

จิตวิทยาเชิงบวก คือ การบ่มเพาะผู้เรียนให้มีคุณค่าที่ดีงาม โดยการที่ครูปฏิบัติกับนักเรียนย่างมนุษย์ที่มีคุณค่า ซึ่งจำแนกได้เป็นสองแบบคือ แบบที่ครูควรลด ได้แก่ การเปรียบเทียบ  การประจาน  การตะวาด ใช้ความรุนแรง  ชี้โทษ หลอกให้กลัว และการลดคุณค่า  ส่วนอีกแบบหนึ่งคือแบบที่ครูควรเพิ่ม ได้แก่  การกล่าวชม  การขอบคุณ  การเสริมแรง  การสร้างภาพพจน์ด้านบวก (วิเชียร  ไชยบัง : โรงเรียนนอกกะลา , ๒๕๕๔)

. การสร้างชุมชนและวิถีชุมชน

การสร้างชุมชนให้สะอาด ร่มรื่น สวยงาม ปลอดภัย จะทำให้ผู้เรียนอยู่ในบรรยากาศที่เกื้อหนุนเมล็ดพันธ์ที่ดีในจิตใจ  ส่วนความเป็นกัลยาณมิตรที่ดีของครูก็จะทำให้นักเรียนรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย สัมพันธภาพของคนในชุมชนมีผลต่อบรรยากาศในการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข  ดังนั้นการปฏิบัติในวิถีโรงเรียนจะต้องทำอย่างมีความหมาย มีเหตุผลและคงส้นคงวา ในขณะเดียวกันโรงเรียนยังต้องตระหนักอยู่เสมอว่าผู้ปกครองทุกคนมีส่วนเกื้อกูลต่อความก้าวหน้าของนักเรียน การสร้างความเข้าใจอย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการที่หลากหลาย จะช่วยให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญต่อการพัฒนาในเชิงจิตวิญญาณ เมื่อผู้ปกครองได้เรียนรู้วิถีชุมชนจากบทเรียนที่เกิดขึ้นจริงภายในโรงเรียน ผู้ปกครองก็จะนำกลับไปสู่ชุมชนจริงของตน (วิเชียร  ไชยบัง : จิตศึกษา , ๒๕๕๕)

. การจัดกระทำผ่านกิจกรรมจิตศึกษา

ใน การจัดกิจกรรมจิตศึกษา ปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ ๒๐ นาที  จัดในช่วงเช้าก่อนที่จะเรียน  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับคลื่นสมอง ปรับอารมณ์ของนักเรียน ให้นักเรียนมีสติ  มีสมาธิ และพร้อมที่จะเรียนรู้  ตัวอย่างกิจกรรม ได้แก่  กิจกรรมกำกับสติที่ไม่ใช่การนั่งสมาธิ การทำเบรนยิมฝึกการทำงานของสมองสองซีก  การทำโยคะเพื่อปรับสมดุลร่างกาย ซึ่งขณะทำกิจกรรมก็เปิดเสียงดนตรีที่มีลักษณะของคลื่นความถี่ต่ำ เพี่อเหนี่ยวนำคลื่นสมองของนักเรียนให้มีความถี่ต่ำลงกิจกรรมขอบคุณมอบความ รักความปารถนาดี  (วิเชียร  ไชยบัง : จิตศึกษา , ๒๕๕๕)