วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

จิตศึกษากับการบ่มเพาะความเป็นครู



กระบวนการ จิตศึกษาเป็นแนวคิดและกระบวนการพัฒนาทั้งครูและนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้และงอกงามด้านความฉลาดทางด้านอารมณ์ ความฉลาดด้านจิต  หลังจากการดำเนินกระบวนการจิตศึกษา พบว่า นักเรียนทุกคนสงบได้ง่ายขึ้น จิตใจที่สงบก็จะนำมาซึ่งการรับฟังกันได้ลึกซึ้ง เกิดการใคร่ครวญ สามารถรับรู้และเชื่อมโยงกับคนอื่นๆ หรือสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น  ปัจจุบันพบว่าเมื่อครูใช้กระบวนการจิตศึกษาเพื่อขัดเกลานักเรียน ในขณะเดียวกันนั้นครูก็ได้ขัดเกลาความฉลาดด้านในของตนเองไปด้วย "จิตศึกษา" จึงกลายเป็นส่วนสำคัญของโรงเรียนในการพัฒนาครู เพื่อยกระดับจิตวิญญาณครูให้มี "หัวใจของความเป็นครูอย่างแท้จริง"  (วิเชียร  ไชยบัง : วุฒิภาวะของความเป็นครู , ๒๕๕๖)

จากการสัมภาษณ์ครูและผู้บริหารโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดหลังจากเสร็จสิ้นโครงการเตรียมความพร้อมก่อนเรียน โดยใช้กระบวนการจิตศึกษา ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด พบว่า กระบวนการจิตศึกษาช่วยพัฒนาอารมณ์นักเรียน และช่วยให้นักเรียนมีสมาธิพร้อมที่จะเรียนรู้  และทำให้นักเรียนเรียนรู้ได้ดี สำหรับอาจารย์ผู้สอนพบว่ากระบวนการจิตศึกษาสามารถพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูของนักศึกษาได้เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น