วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กระบวนทัศน์จิตศึกษา

     กระบวนทัศน์จิตศึกษาประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ คือ การใช้จิตวิทยาด้านบวก  สร้างชุมชนและวิถีชุมชน และ การจัดกระทำผ่านกิจกรรมจิตศึกษา ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีรายละเอียด ดังนี้

. การใช้จิตวิทยาเชิงบวก 

จิตวิทยาเชิงบวก คือ การบ่มเพาะผู้เรียนให้มีคุณค่าที่ดีงาม โดยการที่ครูปฏิบัติกับนักเรียนย่างมนุษย์ที่มีคุณค่า ซึ่งจำแนกได้เป็นสองแบบคือ แบบที่ครูควรลด ได้แก่ การเปรียบเทียบ  การประจาน  การตะวาด ใช้ความรุนแรง  ชี้โทษ หลอกให้กลัว และการลดคุณค่า  ส่วนอีกแบบหนึ่งคือแบบที่ครูควรเพิ่ม ได้แก่  การกล่าวชม  การขอบคุณ  การเสริมแรง  การสร้างภาพพจน์ด้านบวก (วิเชียร  ไชยบัง : โรงเรียนนอกกะลา , ๒๕๕๔)

. การสร้างชุมชนและวิถีชุมชน

การสร้างชุมชนให้สะอาด ร่มรื่น สวยงาม ปลอดภัย จะทำให้ผู้เรียนอยู่ในบรรยากาศที่เกื้อหนุนเมล็ดพันธ์ที่ดีในจิตใจ  ส่วนความเป็นกัลยาณมิตรที่ดีของครูก็จะทำให้นักเรียนรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย สัมพันธภาพของคนในชุมชนมีผลต่อบรรยากาศในการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข  ดังนั้นการปฏิบัติในวิถีโรงเรียนจะต้องทำอย่างมีความหมาย มีเหตุผลและคงส้นคงวา ในขณะเดียวกันโรงเรียนยังต้องตระหนักอยู่เสมอว่าผู้ปกครองทุกคนมีส่วนเกื้อกูลต่อความก้าวหน้าของนักเรียน การสร้างความเข้าใจอย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการที่หลากหลาย จะช่วยให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญต่อการพัฒนาในเชิงจิตวิญญาณ เมื่อผู้ปกครองได้เรียนรู้วิถีชุมชนจากบทเรียนที่เกิดขึ้นจริงภายในโรงเรียน ผู้ปกครองก็จะนำกลับไปสู่ชุมชนจริงของตน (วิเชียร  ไชยบัง : จิตศึกษา , ๒๕๕๕)

. การจัดกระทำผ่านกิจกรรมจิตศึกษา

ใน การจัดกิจกรรมจิตศึกษา ปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ ๒๐ นาที  จัดในช่วงเช้าก่อนที่จะเรียน  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับคลื่นสมอง ปรับอารมณ์ของนักเรียน ให้นักเรียนมีสติ  มีสมาธิ และพร้อมที่จะเรียนรู้  ตัวอย่างกิจกรรม ได้แก่  กิจกรรมกำกับสติที่ไม่ใช่การนั่งสมาธิ การทำเบรนยิมฝึกการทำงานของสมองสองซีก  การทำโยคะเพื่อปรับสมดุลร่างกาย ซึ่งขณะทำกิจกรรมก็เปิดเสียงดนตรีที่มีลักษณะของคลื่นความถี่ต่ำ เพี่อเหนี่ยวนำคลื่นสมองของนักเรียนให้มีความถี่ต่ำลงกิจกรรมขอบคุณมอบความ รักความปารถนาดี  (วิเชียร  ไชยบัง : จิตศึกษา , ๒๕๕๕)

        

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น